เมนู

อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ 3


เมฆิยสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า จาลิกายํ ได้แก่ ในเมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. นัยว่าเมืองนั้น
ย่อมปรากฏคล้ายเคลื่อนไหว แก่บุคคลทั้งหลายที่กำลังแลดู เพราะ
เขาได้อาศัยดินเหลวสร้างไว้แล้ว เพราะฉะนั้น. จึงเรียกว่า เมือง
จาลิกา. บทว่า จาลิกาปพฺพเต ได้แก่ ภูเขาแม้นั้น ย่อมปรากฏคล้าย
เคลื่อนไหวแก่บุคคลกำลังแลดูในวันอุโบสถข้างแรม เพราะขาวปลอด
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า จาลิกบรรพต. บุคคลทั้งหลายสร้างวิหาร
ใหญ่ไว้บนจาลิกบรรพตนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองนั้น
ประทับอยู่ในจาลิกบรรพตมหาวิหาร ด้วยประการฉะนี้. บทว่า
ชนฺตุคามํ ได้แก่ โคจรคามแม้อีกแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่ออย่างนั้นของวิหาร
นั้นเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า ชนฺคุคามํ ดังนี้บ้าง.
บทว่า ปธานตฺถิกสฺส ได้แก่ ผู้ทำความเพียร. บทว่า
ปธานาย ได้แก่ เพื่อทำสมณธรรม. บทว่า อาคเมหิ ตาว ความว่า
พระศาสดาสดับคำของพระเถระแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ ทรงรู้ว่า
ญาณของพระเถระนั้น ยังไม่แก่กล้าก่อนดังนี้ จึงได้ตรัสห้ามอย่างนี้.
ส่วนบทนี้ว่า เอกกมฺหิ ตาว ได้ตรัสแก่พระเมฆิยะนั้น เพื่อให้เกิด
จิตอ่อนด้วยทรงดำริว่า พระเมฆิยะนี้ แม้ไปแล้วอย่างนี้ เมื่อ
กัมมัฏฐานยังไม่เสร็จ หมดความสงสัยจักกลับมาอีกด้วยอำนาจ
ความรักดังนี้. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อุตฺตรึ กรณียํ ความว่า ชื่อว่า
กิจที่จะพึงทำอื่นให้ยิ่ง ย่อมไม่มี เพราะพระองค์ทรงทำกิจ 4 ใน

สัจจะ 4 เสร็จแล้ว. บทว่า กตสฺส วา ปฏิจโย ความว่า อนึ่ง ย่อม
ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้วอีก ก็มรรคที่ทรงเจริญแล้ว
พระองค์ก็ไม่เจริญอีก กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ไม่มีการละอีก. บทว่า
ปธานนฺติ โข เมฆิย วทมานํ กินฺติ วเทยฺยาม ความว่า เราจะพึงกล่าว
ชื่ออะไรอื่นเล่ากะเธอ ผู้กล่าวอยู่ว่าเราจักทำสมณธรรมดังนี้.
บทว่า ทิวาวิหารํ นิสีทิ ได้แก่ นั่งเพื่อต้องพักในกลางวัน
บุคคลเป็นพระราชามาตลอด 500 ชาติตามลำดับในกาลก่อน เมื่อ
เล่นในอุทยาน มีนักฟ้อนรำ 3 พวกเป็นบริวาร นั่งแล้วบนแผ่นมงคล
ศิลาใด ท่านเมฆิยะ ได้เป็นเหมือนท่านทอดทิ้งไป นับแต่เวลาที่ท่าน
นั่งแล้ว. บุคคลถือเอาเพศพระราชา ซึ่งมีนักฟ้อนรำแวดล้อมแล้ว
เป็นเหมือนนั่ง ณ บังลังก์ใหญ่ที่สมควรในภายใต้เศวตฉัตร เมื่อ
เป็นเช่นนั้น กามวิตกเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้นผู้ยินดีสมบัตินั้นอยู่.
ในขณะนั้นนั่นเอง เขาได้เห็นโจรสองคนถูกแม่ทัพจับแล้วเหมือน
นำมาไว้ข้างหน้า. พยาบาทวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นด้วย
อำนาจการออกคำสั่งฆ่าโจรคนหนึ่งในโจรเหล่านั้น วิหิงสาวิตก
ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกคำสั่งจองจำโจรคนหนึ่ง. บุคคลนั้น
ถูกอกุศลวิตกแวดล้อมยุ่งยากแล้วด้วยอกุศล จึงได้เป็นเหมือนต้นไม้
ที่ถูกย่านเถาวัลย์ปกคลุมหุ้มห่อ และเหมือนคนฆ่าแมลงผึ้ง เอาน้ำผึ้ง
ถูกแมลงผึ้งรุมล้อมไว้ฉะนั้น. ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวคำ
เป็นต้นว่า อถโข อายสฺมโต เมฆิยสฺส ดังนี้. บทว่า อนฺวาสตฺตา
ได้แก่ เป็นผู้ถูกอกุศลวิตกติดตามแวดล้อมแล้ว. บทว่า เยน ภควา

เตนุปสงฺกมิ ความว่า ท่านเมฆิยะยุ่งยากแล้วด้วยอกุศลอันลามก
อย่างนี้ ไม่สามารถจะทำกัมมัฏฐานให้เป็นที่สบายได้ จึงได้กำหนด
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นกาลอันยาวนาน ทรงเห็นเหตุนี้หนอ
จึงทรงห้ามไว้ คิดว่า เราจักกราบทูลเหตุนี้แก่พระทศพลดังนี้
จงลุกจากอาสนะที่นั่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
จบ อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ 3

4. นันทกสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์และอานิสงส์การแสดงธรรม


[208] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
วิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร
สาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระนันทกะชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ในอุปัฏฐานศาลา.
ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่
หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับยืนรอจนจบกถาอยู่
ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้นทางทราบว่ากถาจบแล้ว ทรงกระแอม
และเคาะที่ลิ่มประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับ
นั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดูก่อน
นันทกะ ธรรมบรรยายของเธอนี่ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืน
รอฟังจนจบกถาอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกย่อมเมื่อยหลัง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะ
รู้สึกเสียใจ สะดุ้งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์พึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกแล้ว แม้คำ
ประมาณเท่านี้ ก็ไม่พึงแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์เลย ลำดับนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ท่านพระนันทกะเสียใจ จึงตรัสกะท่าน